It’s a Mad Mad World โลกบ้าๆ บอๆ

Cherlyn Oh
Thinkerbell
Published in
1 min readNov 24, 2017

--

เมื่อพี่เป็นนักศึกษาที่สิงคโปร์ พี่มีโอกาสฝึกงานเป็นนักสังคมสงเคราะห์ที่ Institute of Mental Health (IMH) ซึ่งก็คล้ายๆ กับโรงพยาบาลจิตเวชที่กรุงเทพฯ ตอนนี้เวลาผ่านไปหลายปีแล้ว พี่อาจลืมทุกอย่างที่เคยเรียนมา แต่มีบทเรียนหนึ่งที่ไม่มีวันลืม…

วันหนึ่ง ผู้ดูแลที่เป็นนักสังคมสงเคราะห์มาหลายปี มาถามเราว่า “ระหว่างคนไข้กับเรา มีแค่อย่างเดียวที่แตกต่างกัน รู้ไหมว่ามันคืออะไร”

เราใช้เวลาคิดเสียหลายวันเลย เราพูดคุยกับเพื่อนๆ ที่ฝึกงานด้วยกันว่าคำตอบคืออะไร แต่ไม่มีใครตอบได้เลย

ในที่สุดผู้ดูแลก็เฉลยว่า “สิ่งเดียวที่ต่างกันระหว่างคนไข้และพวกเราก็คือ…ความโชคดี”

ถ้าผู้ดูแลเชื่อพระเจ้า เขาอาจจะใช้คำอื่น แต่สิ่งที่เขากำลังสื่อก็คือ

…มันอาจจะเกิดขึ้นกับเราก็ได้…

พูดง่ายๆ ก็คือ เราไม่รู้ว่าโรคแบบนี้อาจจะมาถึงเราอย่างไรเมื่อไร

ในวันพรุ่งนี้ เราอาจกลายเป็นคนไข้ใน IMH ก็ได้ พี่ก็เลยได้บทเรียนว่า

อย่าคิดว่าเราดีกว่าคนไข้ และเราไม่จำเป็นต้องสงสารเขา แต่เราควรเรียนรู้ด้วยกันกับคนไข้ ลองเข้าใจเขา เดินกับเขา และ be MAD — Making A Difference (สร้างความแตกต่าง) ในชีวิตคนไข้และครอบครัวของเขา สนับสนุนเขาเพื่อที่จะรับมือกับโรคที่เขาเป็นอยู่ให้ได้ดีขึ้น และสามารถกลับมามีส่วนร่วมและอยู่ในสังคมได้

ในประเทศสิงคโปร์ยังมีความอัปยศที่เกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วยทางจิต พี่มีเพื่อนที่ต้องต่อสู้กับภาวะซึมเศร้า แอสเพอร์เกอร์ โรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD) อาการกินไม่หยุดและอาการเบื่ออาหาร

จริงๆแล้วมันก็ไม่ง่ายที่จะเป็นเพื่อนที่ดีต่อพวกเขา แต่คิดดูสิ สำหรับเขา มันจะยากแค่ไหนที่จะต้องต่อสู้กับหลายต่อหลายเรื่องในแต่ละวัน เช่นการถูกเข้าใจผิด การแสวงหาการยอมรับจากครอบครัวและเพื่อนๆ การพยายามที่จะเป็นคน “ปกติ” ในสายตาของสังคม

นี่ทำให้พี่คิดถึงคำสอนของพระเยซูในมัทธิว 7:12

ดัง​นั้น ให้​ทำ​กับ​คน​อื่น​เหมือน​กับ​ที่​คุณ​อยาก​ให้​คน​อื่น​ทำ​กับ​คุณ​ใน​ทุก​เรื่อง เพราะ​กฎ​ปฏิบัติ​ของ​โมเสส และ​คำ​สอน​ของ​พวก​ผู้​พูด​แทน​พระเจ้าก็​สรุป​ได้​อย่าง​นี้​แหละ — ฉบับอ่านเข้าใจง่าย THA-ERV

แม้บริบทของข้อนี้คงพูดถึงศัตรูของเรามากกว่า แต่บางครั้งการกระทำของเราต่อคนที่แตกต่างจากเราอาจจะไม่ต่างจากสิ่งที่เราทำกับศัตรูของเรามากนัก

ถ้าเราเป็นกลุ่มคนส่วนน้อยในสังคมเหมือนเพื่อนเราที่กำลังต่อสู้กับปัญหาด้านจิตเวช เราจะอยากให้คนรอบข้างปฏิบัติกับเราอย่างไร

พี่รู้ว่าแม้ไม่สามารถช่วยเพื่อนได้มากมายขนาดนั้น แต่สิ่งหนึ่งที่ทำได้ก็คือ

“อยู่ร่วมกันกับเขาต่อไป”

พี่สงสัยว่าสังคมไทยมองโรคทางจิตอย่างไร? น้องๆ มีเพื่อนหรือคนที่รักที่ต่อสู้กับโรคแบบนี้ไหมคะ? ประสบการณ์ของน้องเป็นอย่างไรบ้าง?

พวกเขาได้รับการสนับสนุนจากบริการสุขภาพของรัฐบาลและเพื่อนๆ อย่างไรบ้าง?

หรือว่าน้องเองกำลังต่อสู้กับโรคแบบนี้ไหม? น้องคิดว่าควรมีสิ่งใดบ้างที่สังคมจะช่วยสนับสนุนได้มากขึ้นไหม?

เรื่องนี้พี่อยากชวนให้เราลองคุยกันต่อนะคะ

--

--

Singaporean living in Thailand, following Jesus step by staggered step